หากเข้าใจกระบวนการจัดการความรู้ เราก็สามารถเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม
เมื่อพูดถึง ‘นวัตกรรม’ ฟังแล้วอาจมองว่าเป็นได้ทั้งเรื่อง ‘ใกล้ตัว’ และ ‘ไกลตัว’
ใกล้ตัวในที่นี่หมายถึงในโลกยุคปัจจุบัน คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าทุกพื้นที่ในวิถีชีวิตของเราต่างมีนวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่ง ตั้งแต่ นวัตกรรมรูปแบบเครื่องมือ สิ่งประดิษฐ์ หรือเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกสบายต่างๆ ไปจนกระทั่งนวัตกรรมทางความคิดที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและขับเคลื่อนสังคม
ส่วนไกลตัวนั้นเป็นเรื่องการมองในมุมของผู้ประดิษฐ์คิดค้น แต่รู้หรือไม่ว่า? แท้แล้วเราทุกคนสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยตนเองได้ หากเข้าใจกระบวนการ ซึ่งกุญแจสำคัญ หลักการ รวมถึงกระบวนการดังกล่าว ขณะนี้ก็มีให้เราได้เรียนรู้ พร้อมลงมือทำจริงแล้วในหลักสูตร ‘ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความรู้และนวัตกรรม’ ของ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลักสูตรที่ว่าด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ผ่านการจัดการและต่อยอดความรู้ ความเชี่ยวชาญของผู้เรียน สำหรับนำไปใช้ประโยชน์พัฒนาศักยภาพบุคคล องค์กร ธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการของตนเองในอนาคต
เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น มีเคสน่าสนใจของนักศึกษาที่เพิ่งจบจากหลักสูตรนี้มาเล่าให้ฟัง
เคสแรกเป็นของนักศึกษาชาวจีนที่เข้ามาเรียนพร้อมโจทย์ว่า อยากเพิ่มปริมาณบุคลากรคุณภาพที่มีทักษะในการเฟ้นหาและติดต่อประสานงานกับเหล่ากูรูจากทั่วโลก เพื่อชวนเข้าร่วมโครงการปลูกฝังความรู้แก่เด็กนักเรียน นักศึกษาของรัฐบาลจีน โดยปัญหาคือบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านนี้จริงๆ มีจำนวนเพียงน้อยนิด เหตุนี้เขาจึงปลุกปั้นดุษฎีนิพนธ์ หัวข้อ “A Participatory Knowledge Management Approach for Stakeholders' Competency Development in a Public University of the People's Republic of China” ว่าด้วยวิธีการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในมหาวิทยาลัยของรัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งหยิบจับเอาทฤษฎีด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ควบคู่กับการลงลึกศึกษากรณีตัวอย่างของต่างประเทศ ก่อนพัฒนาออกมาเป็นระบบถอดบทเรียนการทำงาน จัดเก็บรักษา และส่งถ่ายองค์ความรู้ของบุคลากรมืออาชีพแก่บุคลากรรุ่นใหม่ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ ทำให้มีบุคลากรที่สามารถขับเคลื่อนโครงการนี้จนประสบความสำเร็จเพิ่มมากขึ้น
อีกเคสมาจากดุษฎีนิพนธ์ หัวข้อ “Knowledge-based Smart Trainer for Long Jump Athletes Using Computer Vision” หรือ “ผู้ฝึกสอนอัจฉริยะแบบฐานความรู้สำหรับนักกีฬากระโดดไกลโดยใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์” ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่โค้ชกระโดดไกลท่านหนึ่ง ผุดไอเดียอยากบ่มเพาะโค้ชกระโดดไกลเก่งๆ ให้มีจำนวนมากเพิ่มขึ้น (ระดับความสามารถของโค้ชกีฬากระโดดไกลแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ในประเทศไทยมีโค้ชทักษะสูงสุดอยู่เพียงระดับ 3 และมีจำนวนไม่ถึง 5 ท่าน) ดังนั้นเขาจึงทำการบันทึกและเก็บรวบรวมทักษะความรู้ของโค้ชกีฬากระโดดไกลผู้อยู่เบื้องหลังนักกีฬาฝีเท้าดีระดับทีมชาติ ด้วยการอาศัยกระบวนการจัดการความรู้และนวัตกรรมเข้ามาประยุกต์ใช้ จนได้ผลลัพธ์เป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของกล้องตรวจจับความเคลื่อนไหว เพื่อให้โค้ชสอนกระโดดไกลทั่วประเทศได้นำไปฝึกฝนนักกีฬา โดยทุกการก้าวกระโดดกล้องจะตรวจจับท่าทาง องศา หรือความเร็ว ก่อนประมวลผลถอดองค์ความรู้จากโค้ชกีฬากระโดดไกลแถวหน้าของเมืองไทย ออกมาเป็นคำแนะนำแก่โค้ชสำหรับนำไปศึกษาจุดบกพร่อง ข้อดี-ข้อด้อย ของนักกีฬา พร้อมออกแบบแผนการสอนที่มีประสิทธิภาพต่อไป
เห็นแล้วรึยังว่า การสร้างสรรค์นวัตกรรมไม่ใช่เรื่องไกลตัวเกินคว้า หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกว่าไอเดียการทำงานเริ่มตีบตัน ต้องการแก้ไขปัญหาบกพร่องซ้ำซ้อน หรืออยากนำองค์ความรู้เดิมมาต่อยอดพัฒนาสู่สิ่งใหม่ที่มีประโยชน์ต่อองค์กร ‘ทักษะการจัดการความรู้’ และ ‘นวัตกรรม’ ที่ดีจะช่วยสร้างโอกาสเหล่านั้นและเติมเต็มความเป็นไปได้ให้เราสามารถออกเดินนำหน้าเสมอ
__________
ดูรายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ :